วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรมที่ 3 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์



          1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
          2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
          3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน
          4. การลงมือทำโครงงาน
          5. การเขียนรายงาน
          6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน

1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ 
          โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่างๆ จากการสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ปัญหาที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ได้จากแหล่งต่างๆ กัน ดังนี้
          1. การอ่านค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ
          2. การไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ
          3. การฟังบรรยายทางวิชาการ รายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนนักเรียนหรือกับบุคคลอื่นๆ
          4. กิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
          5. งานอดิเรกของนักเรียน
          6. การเข้าชมงานนิทรรศการหรืองานประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์
ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
          1. ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
          2. สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
          3. มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
          4. มีเวลาเพียงพอ
          5. มีงบประมาณเพียงพอ
          6. มีความปลอดภัย

2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล 
          การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล ซึ่งรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสม ในการศึกษาจะต้องได้คำตอบว่า
          1. จะทำ อะไร
          2. ทำไมต้องทำ
          3. ต้องการให้เกิดอะไร
          4. ทำอย่างไร
          5. ใช้ทรัพยากรอะไร
          6. ทำกับใคร
          7. เสนอผลอย่างไร

3. องค์ประกอบของเค้าโครงของโครงงาน 
รายงานรายละเอียดที่ต้องระบุ
ชื่อโครงงานทำอะไร กับใคร เพื่ออะไร
ประเภทโครงงานวิเคราะห์จากลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้
ชื่อผู้จัดทำโครงงานผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มก็ได้
ครูที่ปรึกษาโครงงานครู-อาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา และควบคุมการทำโครงงานของนักเรียน
ครูที่ปรึกษาร่วมครู-อาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาร่วม ให้คำแนะนำในการทำโครงงานของนัีกเรียน
ระยะเวลาดำเนินงานระยะเวลาการดำเนินงานโครงงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด กำหนดเป็นวัน หรือ เดือนก็ได้
แนวคิด ที่มา และความสำคัญสภาพปัจจุบันที่เป็นความต้องการและความคาดหวังที่จะเกิดผล
วัตถุประสงค์สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงงานทั้งในเชิงกระบวนการ และผลผลิต
หลักการและทฤษฎี  หลักการและทฤษฎีที่นำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน
วิธีดำเนินงาน กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และผู้ัรับผิดชอบ
ขั้นตอนการปฏิบัติ  วัน เวลา และกิจกรรมดำเนินการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ สภาพของผลที่ต้องการให้เกิด ทั้งที่เป็นผลผลิต กระบวนการ และผลกระทบ
เอกสารอ้างอิงสื่อเอกสาร ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินงาน

 4. การลงมือทำโครงงาน 
          เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้
     4.1 การเตรียมการ 
          การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ
     4.2 การลงมือพัฒนา 
          1. ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น
          2. จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆ ให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่่อยทำ ส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ตกลงรายละเอียดในการต่อเชื่อมชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย
          3. พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน
     4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข 
          การตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการ ที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย
     4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ 
          เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุม เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงาน และทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำ ไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย
     4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ 
          เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญ หรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาและหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้ 

5. การเขียนรายงาน 
          การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆเหล่านี้
     5.1 ส่วนนำ 
          ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำขอบคุณ เป็นคำกล่าวขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน ที่มีส่วนช่วยทำให้โครงงานสำเร็จ
          5. บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้โดยย่อ
     5.2 บทนำ
          บทนำเป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
          1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          2. เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า
          3. ขอบเขตของโครงงาน
     5.3 หลักการและทฤษฎี 
          หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
     5.4 วิธีดำเนินการ 
          วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบพร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน
     5.5 ผลการศึกษา 
          ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือ กราฟ หรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก
     5.6 สรุปผลและข้อเสนอแนะ
          สรุปผลและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำ งาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำ ผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย
     5.7 ประโยชน์ 
          ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย
     5.8 บรรณานุกรม 
          บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หรือเว็บไซด์ต่างๆ ที่ผู้ทำ โครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำ โครงงานนี้การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย
     5.9 การจัดทำคู่มือการใช้งาน 
          หาโครงงานที่นักเรียนจัดทำ เป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
          1. ชื่อผลงาน
          2. ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ ระบุรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้
          3. ความต้องการของซอฟต์แวร์ ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์
          4. คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำ หน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลขาเข้าและส่วนอะไรออกมาเป็นข้อมูลขาออก
          5. วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องกดคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด เพื่อให้ผลงานทำงานในฟังก์ชันหนึ่งๆ  

6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน 
          การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงาน เพื่อแสดงออกถึงผลิตผลความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆ กัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบการรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์และอธิบายด้วยคำพูด เป็นต้น โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
          1. ชื่อโครงงาน
          2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
          3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          4. คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
          5. วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
          6. การสาธิตผลงาน
          7. ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน




กิจกรรมที่ 2 ประเภทโครงงานคอมพิวเตอร์

ประเภทของโครงงาน
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ

     1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
     2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
     3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
     4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
     5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)




1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
     โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ

ตัวอย่าง



        
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
        
     เป็นโครงงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือมาใช้ช่วยสร้างงานประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นในรูปซอฟต์แวร์ ตัวอย่างของเครื่องมือช่วยงาน เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป ซอฟต์แวร์พิมพ์งาน ซอฟต์แวร์ช่วยการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการพิมพ์งานนั้นสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมประมวลผลภาษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือให้เราใช้งานในงานพิมพ์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นไปได้โดยง่าย ซึ่งรูปที่ได้สามารถนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้มากมาย สำหรับซอฟต์แวร์ช่วยในการมองวัตถุในมุมต่าง ๆ ใช้สำหรับช่วยในการออกแบบสิ่งของต่าง ๆ เช่น โปรแกรมประเภท 3D
       
  ตัวอย่าง

3. โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)

     เป็นโครงงานใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่าง ๆ เป็นโครงงานที่ผู้ทำต้องศึกษารวบรวมความรู้ หลักการ ข้อเท็จจริงและแนวความคิดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งในเรื่องที่ต้องการศึกษา แล้วเสนอเป็นแนวคิด แบบจำลอง หลักการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสมการ สูตร หรือคำอธิบายก็ได้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการจำลองทฤษฎีด้วยคอมพิวเตอร์ การทำโครงงานประเภทนี้มีจุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้เรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ตัวอย่าง เช่น การทดลองเรื่องการไหลของเหลว การทดลองเรื่องพฤติกรรมของปลาอโรวาน่า ทฤษฎีการแบ่งแยกดีเอ็นเอ เป็นต้น

ตัวอย่าง


4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน(Application)
     เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบและตกแต่งอาคาร ซอฟต์แวร์สำหรับการผสมสี ซอฟต์แวร์สำหรับการระบุคนร้าย เป็นต้น โครงงานงานประเภทนี้จะมีการประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ โครงงานลักษณะนี้จะต้องศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ก่อน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการออกแบบ และพัฒนาสิ่งของนั้น ๆ ต่อจากนั้นต้องมีการทดสอบการทำงานหรือทดสอบคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์แล้วปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ โครงงานประเภทนี้นักเรียนต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจใช้วิธีทางวิศวกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในการพัฒนาด้วย

ตัวอย่าง


5. โครงงานพัฒนาเกม (Game Development)
        
     เป็นโครงงานพัฒนาซอฟต์แวร์เกมเพื่อความรู้ และ/หรือ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมากรุก เกมหมากฮอส เกมการคำนวณเลข ซึ่งเกมที่พัฒนาขึ้นนี้น่าจะเน้นให้เป็นเกมที่ไม่รุนแรง เน้นการใช้สมองเพื่อฝึกคิดอย่างมีหลักการ โครงงานประเภทนี้จะมีการออกแบบลักษณะและกฎเกณฑ์การเล่น เพื่อให้น่าสนใจเก่ผู้เล่น พร้อมทั้งให้ความรู้สอดแทรกไปด้วย ผู้พัฒนาควรจะได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกมต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปและนำมาปรับปรุงหรือพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้ป็นเกมที่แปลกใหม่ และน่าสนใจแก่ผู้เล่นกลุ่มต่าง ๆ


ตัวอย่าง



วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรมที่ 1 โครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์ 

    

        หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม โดยใช้ความรู้ทางกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดจะทำโครงงาน ซึ่งอาจมีผู้ศึกษามาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนาแล้ว นักเรียนสามารถทำโครงงานเรื่องดังกล่าวได้ แต่ต้องคิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนเป็นบุคคลที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้ การพัฒนาความคิดใหม่ๆ ความมีคุณธรรมจริยธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับเพื่อนมนุษย์ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข



ความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์

       
โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ และความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสม โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำความสามารถที่เกิดจากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ 5 ประการดังนี้
       


1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้นผู้ทำโครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการเขียน หรือด้วยปากเปล่า รวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อ
อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัด โครงงานให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
      



 2. ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
            2.1 การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร
            2.2 การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่างๆที่เรียนมา รวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน
            2.3 การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนeความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ
            2.4 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครงงานใด เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่น โครงงานระบบคำนวณเลขหวย สำหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลจะออกในแต่ละงวด อาจส่งผลกระทบต่อ
สังคม ทำให้คนในสังคมเกิดความหมกมุ่นในกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น
            2.5 การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนา หรือประดิษฐ์คิดค้นผลงาน รวมทั้งการสรุปผลและการน าเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและ
ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา
        



3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
       



4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
      



 5. เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาโครงงาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
       



6. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม




ขอบข่ายของโครงงานคอมพิวเตอร์ 


 1. เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติด้วยตนเองโดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นมากแล้ว

 2. นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทำโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่

 3. นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริ เริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองตาม ความถนัด สนใจ และความพร้อม

 4. นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กำหนดไว้

 5. เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดำเนินงานด้วย

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

ใบงานที่6 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์


ใบงานที่5 บทความที่สนใจ


VespaVespa และ Piaggio Group
Vespa คืออัตลักษณ์เชิงงานรังสรรค์ในแบบฉบับของอิตาเลียน ที่ทั่วโลกต่างยอมรับและเป็นที่รู้จัก
เช่นเดียวกับความสำเร็จด้านการขายซึ่งนับวันจะมีแต่ดีขึ้นและดีขึ้น
ด้วยยอดขายกว่า 100,000 คันกว่าทั่วโลก
คิดเป็นสัดส่วนการเติบโตที่เหลือเชื่อ จากเพียง 50,000 คัน ในปี 2004 เพิ่มเป็น 87,000 คัน
ในปี 2005 และกว่า 100,000 คัน ในปี 2006 ไล่มาจนถึงปัจจุบัน
ค.ศ. 1884
ก่อตั้งที่เมืองเจนัว ในปี ค.ศ. 1884 โดย รินัลโด้ พิอาจิโอ ด้วยวัยยี่สิบปี ในฐานะบริษัทต่อเรือสำราญ
ก่อนจะขยายกิจการมาเป็นผลิตรางรถไฟ รถตู้ขนสินค้า รถโดยสารหรู เครื่องยนต์ เรื่อยไปจนถึงตัวถังรถบรรทุก 
Vespa 1884
ค.ศ. 1917
สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ Piaggio มากมาย
เมื่อทางบริษัทหันมาจับการผลิตเครื่องบินประเภทต่างๆ
ปิอาจิโอ ได้ซื้อโรงงานใหม่ที่ ปิซ่า ตามด้วยโรงงานเล็กๆ แห่งหนึ่งใน ปอนเตเดร่า ในอีกสี่ปีต่อมา
ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตอากาศยานแห่งแรกของประเทศ ด้วยเหตุนี้ Piaggio
ได้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทผลิตอากาศยานชั้นนำของอิตาลี
Vespa 1917
ค.ศ. 1946
ภายหลังสงครามสิ้นสุด เอนริโก้ และ อาร์มานโด บุตรชายของ รินัลโด้ ปิอาจิโอ
ได้ช่วยกันพลิกฟื้นบริษัทขึ้นมาใหม่ คอร์ราดิโน ดัสคานิโอ นักออกแบบอากาศยาน
ออกแบบให้มันเป็นพาหนะที่ตัวถังแข็งแรง ทนทาน และใช้การประสานเฟืองแทนโซ่เหล็ก
ติดก้านเกียร์ไว้บนคันบังคับเพื่อให้ง่ายต่อการขับขี่ เปลี่ยนจากตะเกียบเป็นแขนยึดเหมือนเครื่องบิน
ตบท้ายด้วยการออกแบบตัวถังรถ เพื่อปกป้องคนขี่จากความสกปรกและน่ารำคาญ
Vespa 1946
1946-Vespa98cc Prima Serie " Bacchetta3v "
รถ Vespa รุ่นแรก เครื่องยนต์ 98 ซีซี ส่งกำลัง 3.2 แรงม้า ที่รอบหมุน 4,500 รอบ/นาที
ทำความเร็วสูงสุด 60 กม./ ชม. ระยะการผลิตสองปี: ปี 1946 รุ่น 464
ตามด้วย 465 จนถึงรุ่น 18 (079) ในปี 1947
Vespa98cc Prima Serie Bacchetta3v
ค.ศ.1947
ปลายปี 1947 ผลิตภัณฑ์รถเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น กระทั่งในปีต่อมา Vespa 125
ก็ถูกปล่อยออกจำหน่ายเพื่อสานความสำเร็จต่อจาก Vespa 98 รุ่นแรก
Vespa 1947
ค.ศ.1948
ที่ Fiera Campionaria เมืองมิลาน ในปี 1948 ทาง Italian Vespa Clubs
ได้จัดให้มีการแข่งขันรายการ “Silver Swarm” ขึ้น ภายหลังการออกจำหน่ายรถรุ่นแรก
ตัวถังสีเงิน-เขียว อันเป็นเครื่องหมายการค้า Vespa
Vespa 1948
1948-Vespa 125cc V1T " Bacchetta3v "
Vespa 125 ซีซี รุ่นแรก ต่างจากรุ่น 98 ตรงขนาดเครื่องยนต์และมีการใช้ระบบรองรับหลัง
เช่นเดียวกับการปรับปรุงระบบรองรับหน้า
Vespa 125cc V1T
ค.ศ.1950
เพียงสี่ปีหลังการออกจำหน่าย Vespa ได้รับการประกอบในประเทศเยอรมนีโดย
Hoffman-Werke of Lintorf
ตามด้วยในประเทศอังกฤษ (Douglas of Bristol) และฝรั่งเศส (ACMA of Paris)
การผลิตในสเปนเริ่มต้นในปี 1953
ที่ Moto Vespa of Madrid (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Piaggio Espana)
ตามด้วย Jette ในบรัสเซลส์, เบลเยี่ยม มีการสร้างโรงงานแห่งใหม่ใน บอมเบย์, บราซิล
ข้ามไปจนถึงในสหรัฐฯ ความโด่งดังของมันสามารถเรียกความสนใจจากนิตยสาร รีเดอร์ส์ ไดเจสต์
ซึ่งถึงขนาดลงตีพิมพ์เป็นบทความชิ้นยาว แต่นั่นก็เป็นเพียงบทเริ่มของความอัศจรรย์เท่านั้น
Vespa 1950
ค.ศ.1951
ในปี 1951 แฟนรถ Vespa กว่า 20,000 คน ได้เข้าไปมีส่วนร่วมที่งาน Italian Vespa Day
ตลอดช่วงทศวรรษที่ 1950 มีการจัดการแข่งขันขึ้นมากมายทั้งภายในอิตาลีเองและต่าง ประเทศ
การขับขี่รถเวสป้าเริ่มกลายเป็นสัญลักษณ์ของเสรีภาพและการเข้าสังคม
กล่าวโดยสั้นคือ รถเวสป้ากลายมาเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม
ที่มีหลักฐานปรากฏยืนยันด้วยรูปถ่าย วรรณกรรม โฆษณา และภาพยนตร์อีกนับไม่ถ้วน
เรื่อยไปจนถึงพฤติกรรมที่แปรเปลี่ยนไปตามสภาพสังคม
นับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
Vespa 1951
ค.ศ.1952
ปี 1952 จอร์จส์ โมแนเร่ต์ ชาวฝรั่งเศส ได้ประกอบรถ “เวสป้าสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก”
เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ปารีส-ลอนดอน และประสบความสำเร็จในการข้ามช่องแคบอังกฤษ
หนึ่งปีก่อนหน้านั้น Piaggio ก็ได้ประกอบรถ Vespa 125 ซีซี รุ่นต้นแบบ
เพื่อใช้ในการแข่งขันทำความเร็ว กระทั่งสร้างสถิติโลกด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 171.102 กม./ชม.
Vespa 1952
ค.ศ.1953
Vespa ผ่านหลักชัยที่ 17 ล้านคัน Vespa: over 17 million units produced
ในวันที่ Lambretta เพิ่งจะเริ่มลิ้มรสความสำเร็จ Vespa
ได้ถูกนำไปสำเนาและเลียนแบบเป็นพันๆ ครั้ง
ทว่าคือความเป็นเอกลักษณ์ที่ส่งให้พาหนะของ Piaggio คงความสำเร็จมาได้อย่างยาวนาน
นานจนกระทั่งในเดือนพฤศจิกายน 1953 รถคันที่ 500,000
ได้ถูกปล่อยออกจากสายการผลิต ตามด้วยคันที่หนึ่งล้านในเดือนมิถุนายนปี 1956
Vespa 1953
1955-Vespa150cc GranSport VS1T “Cavi 4v”
หลายคนบอกว่ามันคือ “โมเดลรุ่นที่ดัง ถูกเลียนแบบ และเป็นที่จดจำได้มากที่สุด”
พัฒนาขึ้นหลายจุด เครื่องยนต์ 150 ซีซี, เกียร์ 4 จังหวะ, อานเบาะยาวมาตรฐาน,
ปรับทรงไฟหน้า, ล้อขนาด 10 นิ้ว ทำความเร็วสูงสุดได้ 100 กม./ ชม.
ปรับดีไซน์ตัวถังให้ลู่ลมดีขึ้น
Vespa150cc GranSport VS1T
ค.ศ.1957
ในวันที่ 9 มิถุนายน 1957 Izvestiรายงานข่าวการเริ่มต้นผลิตรถ Viatka 150 ซีซี
ที่เมืองคีรอฟ, สหภาพโซเวียต ที่ลอกแบบรถเวสป้าแทบทุกรายละเอียด
ก่อนที่ทาง Piaggio จะหันมาขยายสายรุ่นลงสู่พาหนะขนาดเล็ก ในปี 1948
หลังการเปิดตัวของ Vespa ได้มีการประกอบรถแวนสามล้อ Ape
(ภาษาอิตาเลียนแปลว่า “ผึ้ง”) วางทรงมาจากรถสกู๊ตเตอร์ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
Vespa 1957
1962-Vespa160cc GranSport VSB1T
สานต่อความสำเร็จจาก GS รุ่นแรก พร้อมดีไซน์ใหม่
หม้อลดเสียงไอเสีย, คาร์บูเรเตอร์ และระบบรองรับ
กำลังส่งสูงสุด 8.2 แรงม้า ที่รอบหมุน 6,500
Vespa160cc GranSport VSB1T
1963-Vespa 150cc GranLusso VLA1T
ดีไซน์ใหม่ที่เรียกกันว่า “หนึ่งในรถเวสป้าที่สวยที่สุดที่ผลิตโดยนัก ออกแบบของ Piaggio”
คันบังคับเลี้ยว, ไฟหน้าทรงสี่เหลี่ยมคางหมู, บังโคลนหน้าและฝาครอบท้ายล้วนเป็นของใหม่
Vespa 150cc GranLusso VLA1T
ค.ศ.1964
Vespa 50 เปิดตัวในปีถัดมา (1963) พร้อมๆ กับกฎหมายบังคับให้รถจักรยานยนต์ขนาดเกิน 50 ซีซี
ต้องติดป้ายทะเบียน รถสกู๊ตเตอร์คันใหม่ได้รับการยกเว้นจากกฎหมายดังกล่าว
และประสบความสำเร็จในทันที ในปี 1965 ยอดขายรถพร้อมป้ายทะเบียนในอิตาลีตกลง 28%
เมื่อเทียบกับปี 1964 ทว่า Vespa พร้อมกับรถซีรี่ส์ 50 รุ่นใหม่ กลับประสบความสำเร็จอย่างสูง
นับจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นรถเวสป้าขนาด 50 ซีซี
รุ่นแรกที่ใช้เครื่องยนต์สี่จังหวะ สามารถวิ่งได้ไกลกว่า 500 กม. จากการเติมน้ำมันเต็มถัง
Vespa 1964
1965-Vespa180cc Super-Sport VSC1T
ขยายขนาดความจุเครื่องยนต์ (181.14 ซีซี) 10 แรงม้า สำหรับทำความเร็วสูงสุด 105 กม./ชม.
180 SS (Super Sport) เข้ามาทดแทนรุ่น GS 150/ 160 ซีซี
ทาง Piaggio ได้ทำการปรับปรุงในส่วนของโครงกระจังหน้าใหม่
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตามหลักอากาศพลศาสตร์
และความสะดวกสบาย ตลอดจนสมรรถนะการควบคุมและการเกาะถนน
Vespa180cc Super-Sport VSC1T
1966-Vespa125cc GranTurismo VNL2
Vespa 125, 1966 - หรือ “125 รุ่นใหม่” รื้อแนวทางการออกแบบใหม่ทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นโครงรถ, เครื่องยนต์ (เอียง 45° องศา) และระบบรองรับ
Vespa125cc GranTurismo VNL2
1966-Vespa50cc L VSA1T
ซีรี่ส์พิเศษที่พัฒนามาจากรถ Vespa รุ่น 50/90 ซีซี และ 125 “รุ่นใหม่”
ปรับตำแหน่งอานเบาะและคันบังคับเลี้ยว เพื่อให้ขับขี่ได้สะดวกขึ้น คันบังคับเลี้ยวคอดต่ำ
บังโคลนและกระบังหน้าเพรียวลม ด้วยความจุเครื่องยนต์เพียง 90 ซีซี ทำความเร็วได้ 93 กม/ชม.
1966-Vespa50cc L VSA1T
1968-Vespa125cc Primavera VMA2T
พร้อมด้วยรุ่น PX ที่ออกตามหลัง ถือเป็นรถรุ่นที่ใช้งานได้ทนทานที่สุดของ Vespa
พัฒนามาจาก 125 “รุ่นใหม่” แต่สมรรถนะเครื่องยนต์ที่ต่างกัน
ทำความเร็วได้สูงกว่ากัน 10 กม./ชม. ลงลึกทุกรายละเอียด
ไม่เว้นแม้แต่ตัวขอเกี่ยวกระเป๋าสุดคลาสสิค
Vespa125cc Primavera VMA2T
1968-Vespa180cc Rally VSD1T
ทาง Piaggio ได้นำเอาระบบปรับจังหวะการสูบเชื้อเพลิงแบบโรตารี่มาใช้
เครื่องยนตเป็นรุ่นใหม่ให้กำลังสูงขึ้น เช่นเดียวกับโคมไฟหน้า
โครงรถต่อยอดมาจาก Vespa 150 Sprint ทรงคอดเพรียวและลู่ลมกว่ารุ่น
1968-Vespa180cc Rally VSD1T
1970-Vespa50cc Elestart V5A3T
ใช้ระบบจุดระเบิดอัตโนมัติ รูปทรงดูทันสมัยและสวยขึ้นเมื่อเทียบกับรุ่น 50
Vespa50cc Elestart V5A3T
1972-Vespa200cc Rally
รถ Vespa ที่ใช้เครื่องยนต์ใหญ่สุด ให้กำลังส่ง 12.35 แรงม้า ที่รอบหมุน 5,700
ทำความเร็วได้ถึง 116 กม./ชม.
Vespa200cc Rally
1976-Vespa125cc Primavera ET3
ET3 นั้นย่อมาจาก “Electronic 3 intake ports” พร้อมการเปลี่ยนแปลงสำคัญภายในเครื่องยนต์
ซึ่งให้พลกำลังสูงและมีชีวิตชีวาขึ้น รูปทรงดูทันสมัยกว่า Primavera รุ่นปกติ
Vespa125cc Primavera ET3
1978Vespa125cc P 125 X
เรียกย่อๆ ว่า “PX” โดดเด่นในเรื่องการวางรูปทรง (ปรับดีไซน์งานตัวถังใหม่หมด)
และสมรรถนะ ตามด้วย P 200 E ที่ออกมาในปีเดียวกัน
พร้อมระบบหล่อลื่นและอุปกรณ์ตรวจจับทิศทางติดตั้งมากับตัวรถ
สามปีถัดมา PX 150 E ก็ได้รับการเปิดตัว ด้วยสมรรถนะที่ก้ำกึ่งระหว่างสองโมเดลแรก
Vespa125cc P 125 X
ค.ศ.1980
น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในปี 1980 รถ Vespa PX 200 สองคันที่ขี่โดย เอ็ม. ซิโมโน่ต์ และบี. เชอร์เนียวสกี
วิ่งเข้าเส้นชัยเป็นอันดับสองในรายการ ปารีส-ดาการ์
ด้วยความช่วยเหลือจากแชมป์ Le Mans 24 Hours เฮนรี่ เปสคาโรโล่
Vespa 1980
1983-Vespa125cc PK
เข้ามาแทนที่ Vespa Primavera (รุ่นมาตรฐานและ ET3) ซึ่งยังคงอยู่ในสายการผลิต
บวกงานตัวถังแบบ “คลาสสิค” สำหรับตลาดญี่ปุ่นโดยเฉพาะ ปรับเปลี่ยนสไตล์ใหม่
บวกตัวถังที่แตกต่างจากรถสกู๊ตเตอร์ที่แล้วๆ มา
โดยเฉพาะในส่วนของรอยเชื่อมต่อที่ประสานกลมกลืนเป็นเนื้อเดียว
Vespa125cc PK
Vespa PK 125 Automatic, 1984
เปลี่ยนมาใช้เกียร์อัตโนมัติเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1946 เป็นต้นมา
เช่นเดียวกับก้านเบรกที่ด้านซ้ายของแฮนด์บังคับเลี้ยว
ตามมาด้วย Vespa PK 50 Automatic ที่เปิดตัวในปีถัดมา
Vespa PK 125 Automatic
1985-Vespa T 5 Pole Position
T 5 ถือเป็นเวอร์ชั่น “สปอร์ต- พิเศษ” ของซีรี่ส์ PX เครื่องยนต์ใหม่
กระบอกสูบอลูมิเนียม และมีช่องไอดีถึง 5 ช่อง ปรับทรงท้ายและโคมไฟหน้าใหม่
พร้อมกระจกบังลม Plexiglas ขนาดเล็ก เสริมสปอยเลอร์ตรงกระจังหน้า
Vespa T 5 Pole Position
1989-Vespa50cc N
Vespa 50 N, 1989 - การเปลี่ยนตามกฎหมาย Italian Highway Code หมายถึงรถจักรยานยนต์ 50 ซีซี
ไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดกำลังอยู่ที่ 1.5 แรงม้า อีกต่อไป ด้วยเหตุนี้ Piaggio
จึงได้เปิดตัวรถ Vespa ขนาดเล็กรุ่นใหม่ พร้อมสมรรถนะที่ดีขึ้น (เกิน 2 แรงม้า ที่ 5,000 รอบ/นาที)
และปรับทรงให้ดูลื่นไหลยิ่งกว่าเก่า เช่นเดียวกับรุ่น “Speedmatic”
Vespa50cc N
ค.ศ.1992
กรกฎาคม 1992 จิออร์จิโอ เบตติเนลลี่ นักเขียนและสื่อมวลชน ขี่รถเวสป้าจากกรุงโรม
เดินทางถึงไซง่อนในเดือนมีนาคม 1993 ในปี 1994-95 เขาได้ขี่รถเวสป้าเป็นระยะทาง 36,000 กม.
จากอลาสก้าไปยังเกาะเทียร์ร่า เดล ฟูเอโก ในปี 1995-96 เดินทางจากเมลเบิร์นไปยังเคปทาวน์
รวมระยะทางกว่า 52,000 กม. ในเวลา 12 เดือน ในปี 1997 เริ่มขี่จากชิลีมุ่งหน้าสู่ทัสมาเนีย
รวมเวลาสามปีแปดเดือน เดินทางกว่า 144,000 กม. บนรถเวสป้า ผ่าน 90 ประเทศ
ไล่จากทวีปอเมริกา, ไซบีเรีย, ยุโรป, แอฟริกา, เอเชีย และโอเชียเนีย
รวมแล้ว เบตติเนลลี่ เดินทางเป็นระยะทางกว่า 250,000 กม.
Vespa 1992
ค.ศ.1996
1996 คือปีที่รถสกู๊ตเตอร์ที่โด่งดังที่สุดในโลกมีอายุครบ 50 ปี
นับแต่การเปิดตัวของ Vespa ET4 และ ET2 โดย ET4 ถือเป็นรถเวสป้าคันแรกที่ใช้เครื่องยนต์สี่จังหวะ
จากโมเดล 98 ซีซี รุ่นแรกในปี 1946 จนถึง Granturismo ปี 2003
และ Vespa GTS 125 Super ปี 2009, Piaggio ได้ผลิตโมเดลรถ Vespa มาแล้วกว่า 100 
(148 ถ้าจะให้ถูก) รุ่น ทั้ง 148 รุ่น ที่วางรากฐานการวิวัฒน์ของโลกสกู๊ตเตอร์ ณ วันที่รถ Vespa ET4
ถูกเปิดตัวในปี 1996 กว่า 20,000 งานปรับปรุงได้เกิดขึ้นนับย้อนจนถึงงานต้นฉบับรุ่นแรกในปี 1946
ไม่นับส่วนประกอบกว่า 1,500 ชิ้นที่ได้รับการเปลี่ยน
Vespa 1996
ค.ศ.1997
ตอกย้ำความรุดหน้าของรถสกู๊ตเตอร์ที่ขายดีที่สุดในโลก วัดตัวอย่างได้จาก ในปี 1997
ซึ่ง Piaggio ได้เปิดตัวเครื่องยนต์สองจังหวะที่ใช้ระบบหัวฉีดตรง (direct injection)
ก้าวเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ด้วยการเปิดตัวเครื่องยนต์สี่จังหวะ European 50 ซีซี
รุ่นแรก ที่ใช้กับรถ Vespa ET4 50 Vespa ET2 Injection
Vespa 1997
1999-Vespa150cc ET4
รถสกู๊ตเตอร์ Piaggioรุ่นแรก ที่มาพร้อมเครื่องยนต์ Leader
สี่จังหวะรุ่นใหม่ แบบเดียวกับโมเดลรุ่น 125 ซีซี
Vespa150cc ET4
ค.ศ.2000
Vespa การหวนคืนสู่ตลาดอเมริกาในปี 2000 หลังจากห่างหายไปตั้งแต่ปี 1985
ด้วยเหตุผลเรื่องกฎหมายควบคุมมลพิษที่พุ่งเป้าไปที่เครื่องยนต์สองจังหวะ
ก็ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว Piaggio U.S.A. เข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดรถสกู๊ตเตอร์
คิดเป็นร้อยละ 18 ตลอดช่วงห้าปีหลังจากนั้น 
ทว่า Vespa หาได้สร้างปรากฎการณ์แต่เพียงในแง่การตลาด
แต่ยังหมายรวมถึงประวัติศาสตร์ทางสังคม ในช่วงเวลานั้น Vespa
ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของรถสกู๊ตเตอร์
สื่อต่างชาติถึงกับให้คำจำกัดความอิตาลีว่าเป็นเหมือน "นครแห่งเวสป้า"
Vespa 2000
2001-Vespa150cc PX
ดีไซน์คลาสสิคบวกคุณสมบัติอันเป็นเอกลักษณ์ อาทิ เกียร์สี่จังหวะ ที่ส่งให้ Vespa PX
กลายเป็นรถสกู๊ตเตอร์ที่มีผู้หลงใหลมากมาย แบบฉบับของงานดีไซน์สไตล์อิตาเลียน
รถ 125 เครื่องยนต์สองจังหวะทั้งรุ่น 125, 150 และ 200 ซีซี
พร้อมระบบระบายความร้อนด้วยแรงดันอากาศ ระบบจุดระเบิด CDI (Capacitor-Discharge Ignition)
และปุ่มสตาร์ทมือและคันสตาร์ท PX รุ่นใหม่ เน้นความเป็นสปอร์ต ใช้ดิสก์เบรกหน้าสเตนเลสสตีล
เส้นผ่านศูนย์กลาง 200 มิลลิเมตร ให้ประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง ดรัมเบรกหลังขนาด 150 มม.
Vespa150cc PX
ค.ศ.2003
ย่างเข้าสู่ปี 2003 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้งกับ Vespa
จากการเปิดตัวรถ Granturismo 200L และ 125L ซึ่งขยายทั้งขนาดและกำลังเครื่องยนต์
Vespa 2003
2003-Vespa200cc GT200
2003 คือปีที่รถ Granturismo ได้รับการเผยโฉมในฐานะรถ Vespa ที่ทรงพลังที่สุด
ทั้งในรุ่น 200L และ 125L ล้วนอัดแน่นไปด้วยวิทยาการล้ำหน้า: รับเป็นครั้งแรกที่
เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์สี่จังหวะ, สี่วาล์ว, ระบายความร้อนด้วยของเหลว 
สอดรับกับมาตรฐานมลพิษใหม่ Euro2
เช่นเดียวกับล้อขนาด 12 นิ้ว ในรุ่น 200L และระบบดิสก์เบรกคู่ ตัวถังผลิตจากเหล็กกล้า
Vespa200cc GT200
ค.ศ.2005
ในปี 2005 กับ Vespa GTS รถสกู๊ตเตอร์คันแรกของโลกที่ใช้เครื่องยนต์ 250 ซีซี
สอดรับเกณฑ์ควบคุมมลพิษ Euro 3 พร้อมระบบหัวฉีดอิเล็คทรอนิค นอกจากนั้น Vespa
ยังแสดงวิสัยทัศน์ในการพัฒนารถจักรยานยนต์ในอนาคต (ไม่ก่อมลพิษ)
ด้วยการเปิดตัวรถ Vespa LX 50 HyS (Hybrid Scooter)
Vespa 2005
2005-Vespa GTS 250 i.e.
ห้าสิบหลังจาก Vespa GS (Gran Sport) นี่คือรถสกู๊ตเตอร์สปอร์ตคันแรกในประวัติศาสตร์
ยังคงเป็นที่ตามหาของบรรดานักสะสมและแฟนๆ Vespa GTS 250 i.e.
เปิดตัวเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2005 ในปอร์โตฟิโน่ หลอมรวมเอาสปีดและรูปทรงเป็นหนึ่งเดียว
กระทั่งกลายเป็นรถ Vespa ที่เร็ว ทรงพลัง และล้ำยุคที่สุดในประวัติศาสตร์
ด้วยการใช้เครื่องยนต์ 250 ซีซี สี่จังหวะ สี่วาล์ว หัวฉีดอิเล็คทรอนิก
และดิสก์เบรกคู่ บวกอ็อพชั่น ABS และเบรกเซอร์โว Vespa GTS 250 i.e.
คือหนึ่งในพาหนะสองล้อ และมอเตอร์ไซค์ขนาด 250 ซีซี รุ่นแรก
ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการควบคุมมลพิษ Euro 3
Vespa GTS 250 i.e.
ค.ศ.2006
14 มีนาคม 2006, Vespa World Club ได้รับการจัดตั้งขึ้น
เพื่อประสานความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการของ สโมสรเวสป้า คลับส์ ทั่วโลก ทาง Piaggio
ได้ให้การสนับสนุนสมาคมใหม่นี้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ และความคิดริเริ่มต่างๆ
ที่เกิดจากแฟนรถเวสป้าในประเทศต่างๆ ปัจจุบัน Vespa World Club
มีสโมสร Vespa Clubs ระดับชาติ 35 แห่ง,
Vespa Clubs ระดับท้องถิ่นอีก 685 แห่ง อยู่ในความดูแล
รวมทั้งสมาชิกจากทั่วโลกอีกกว่า 31,000 คนทั่วโลก
Vespa 2006
2006-Vespa GTV
ผลิตขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองตำนานแห่งโลกยนตกรรมสองล้อ Vespa LXV และ Vespa GTV
ด้วยดีไซน์และฟังก์ชั่นการทำงานที่ย้อนสัมผัสแบบในยุค
ทศวรรษที่ 50 และ 60 Vespa GTV ซึ่งมีให้เลือกทั้งรุ่น 125 และ 250 ซีซี
จะมีจุดเด่นตรงไฟหน้าที่ติดตั้งบนบังโคลนเหมือนตัวต้นแบบปี 1946
Vespa GTV
2007-Vespa S 50, 125
ทุกคุณลักษณะของ “Vespino” ถูกเรียกคืนกลับมาอีกครั้งโดยรถ Vespa S รุ่นใหม่
จากการผสมผสานรูปแบบและกลิ่นอายต่างๆ เพื่อเก็บรักษาจิตวิญญาณของความเป็นหนุ่มสาวไว้
ส่งให้มันกลายเป็นรถ Vespa ที่เปี่ยมสีสันและชีวิตชีวามากที่สุดในยุคปัจจุบัน Vespa S
สืบทอดแนวทางลดทอนจากงานในตำนานยุค 1970 อย่าง 50 Special และ Vespa Primavera
Vespa S 50, 125
2008-Vespa GTS 300
GTS 300 Super นำเอาความเลิศหรูก้าวพ้นงานในคลาส 250
ด้วยการนำเอกลักษณ์สไตล์คลาสสิคในแบบ Vespa มาผสานเข้ากับความทันสมัยและเป็นสปอร์ต
ลายเส้นสายที่สะอาดตา Vespa GTS 300 Super คือการหลอมรวมของรูปแบบ
ความสะดวกสบาย ปลอดภัย และแข็งแกร่งทนทาน ด้วยการใช้เครื่องยนต์สี่วาล์ว
ระบายความร้อนด้วยน้ำ รุ่นใหม่อันทรงพลัง, ระบบหัวฉีดอิเล็คทรอนิก และมาตรฐาน Euro3
สิ่งที่ส่งให้ Vespa GTS 300 Super มีความแตกต่างจากรถจักรยานยนต์คันอื่น
ก็คือ เครื่องยนต์ที่มีความยืดหยุ่นและเปี่ยมด้วยพลกำลัง
ซึ่งหมายถึงมันสามารถออกตัวได้อย่างรวดเร็ว
Vespa GTS 300
2009-Vespa-LX504Va
Vespa LX 50 4Valve, 2009 – เครื่องยนต์ 50 ซีซี สี่วาล์ว สี่จังหวะ รุ่นใหม่
ได้เรียกคืนเอาความอัศจรรย์ของเครื่องยนต์ในตำนาน Vespa กลับมาอีกครั้ง
ด้วยการตั้งจังหวะการปิด-เปิดของลิ้นสี่ระดับ ที่ส่งให้มันเป็นต้นกำลังขนาดเล็กที่โดดเด่น
(ที่ 4.35 แรงม้า นี่คือเครื่องยนต์สี่จังหวะ 50 ซีซี ที่ทรงพลังที่สุดในตลาด)
ด้วยตัวเลขอัตราสิ้นเปลืองและมลพิษที่น่าชื่นชม
ตอกย้ำความเป็นหนึ่งในด้านนวัตกรรมด้านเครื่องยนต์ของ Vespa ตลอดระยะเวลาหกทศวรรษ
Vespa-LX504Va
2011 Vespa Limited Edition LX150 2 Tone
Vespa Limited Edition LX150 2 Tone ถูกดีไซน์ออกมาใหม่ด้วยสีพิเศษ
สีสันสไตล์อิตาเลียน สะดุดตาและโดดเด่นด้วยเบาะนั่งที่ตัดเย็บด้วยสีพิเศษเช่นเดียวกัน
เป็นการดีไซน์ได้อย่างสวยงามและลงตัวที่สุดสำหรับเวสป้าในรุ่น
Vespa LX150 Alloro (สีเขียว) และ Vespa LX150 Bluette (สีฟ้า)
สำหรับการดีไซน์ในรุ่นนี้ มีการผลิตออกมาแค่สีละ 45 คันเท่านั้น
Vespa Limited Edition LX150 2 Tone
Vespa LX125ie Limited Edition “MMFK collaboration 2013”
ออกแบบโดยหนุ่มกราฟฟิกดีไซเนอร์สตรีทอาร์ต ตั้ม-พฤษ์พล มุกดาสนิท
จากแบรนด์ MAMAFAKA: MMFK เป็นสีดำด้าน ออกแนวสตรีท แมน เท่ ดิบ
และมาพร้อมไอเด็นติตี้สำคัญของ ‘คุณตั้ม’ คือ Mr.HellYeah! กระจายลงสู่ชิ้นส่วนต่างๆ
บนรถ พร้อมของพรีเมี่ยมเฉพาะรุ่นครบเซ็ทเอาใจสาวกเวสป้า
ได้แก่ ถุงมือ, ผ้าพันคอ, หมวกนิรภัย และพวงกุญแจ
Vespa LX125ie Limited Edition MMFK collaboration 2013
แหล่งที่มาข้อมูล: http://vespa.co.th/